...***ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก สาขาการบริหารการศึกษา สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ ด้วยความยินดี อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ "ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม"
เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ "การเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา"***.
..

คิดถึง คิดถึง คิดถึง

สำเร็จสุขสำราญ สู่ผู้บริหารมืออาชีพ

รับขวัญรุ่นน้อง บริหารการศึกษา รุ่น 15

มอบของที่ระลึก อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ผู้ประสานงาน

แสดงความยินดีกับ รุ่นพี่ บริหารการศึกษา รุ่นที่ 13

ภาพบรรยากาศดีๆ บริหารการศึกษา รุ่นที่ 13-14

"ผูกพัน ฮักกัน มั่นแก่น ฮับขวัญน้องใหม่"(บริหารการศึกษา รุ่นที่14 ศก.56)

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมไทย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมไทย
1. การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลง
           พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของ พัฒนาว่าคือ ทำให้เจริญดังนั้น
การพัฒนาจึงหมายถึง  การทำให้เจริญ
           “การพัฒนาหมายถึง ความเจริญก้าวหน้าโดยทั่ว ๆ ไป เช่น การพัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ คือการทำ
สิ่งเหล่านั้นให้ดีขึ้น เจริญขึ้น  สนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้ดียิ่งขึ้น  หรืออาจกล่าวได้ว่า การพัฒนา


เป็นกระบวนการของการเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไม่น่าพอใจไปสู่สภาพที่น่าพอใจ การพัฒนาเป็นกระบวนการที่เปลี่ยน
แปลงอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่ง
           การพัฒนามีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเปลี่ยนแปลง  กล่าวคือ
          การพัฒนา หมายถึง  กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนไว้แล้ว คือการทำให้ลักษณะเดิมเปลี่ยน
ไปโดยมุ่งหมายว่า ลักษณะใหม่ที่เข้ามาแทนที่นั้นจะดีกว่าลักษณะเก่า สภาพเก่า แต่โดยธรรมชาติแล้วการเปลี่ยนแปลง
ย่อมเกิดปัญหาในตัวมันเอง  เพียงแต่ว่าจะมีปัญหามาก หรือปัญหาน้อย
          ถ้าหากตีความหมายการพัฒนา      จะสามารถตีความหมายได้ 2 นัย คือ
          1.  การพัฒนาในความเข้าใจแบบสมัยใหม่ หมายถึงการทำให้เจริญในด้านวัตถุ รูปแบบ และในเชิงปริมาณ
เช่น ถนนหนทาง ตึกรามบ้านช่อง ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
          2.  การพัฒนา”   ในแง่ของพุทธศาสนา หมายถึง การพัฒนาคนทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ โดยเน้นในด้าน
คุณภาพชีวิตและหลักของความถูกต้องพอดี  ซึ่งให้ผลประโยชน์สูงสุด ความกลมกลืน และความเกื้อกูลแก่สรรพชีวิต
โดยไม่เบียดเบียน  ทำลายธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
 2.   สังคม/สังคมไทย
        นักสังคมวิทยาหลายท่าน      ได้ให้ความหมายของสังคมว่า หมายถึง      
         1. กลุ่มคนจำนวนมากที่แยกจากกลุ่มอื่นโดยต่างมีความสนใจร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน ใช้สถาบันต่าง ๆ
          และวัฒนธรรมพื้นฐานร่วมกัน
      2. อาณาเขต ที่ประกอบด้วยประชากรต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดถึงอิสรภาพ
         ในการปกครองตนเอง
      3. กลุ่มคนหรือผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ณ บริเวณพื้นที่เดียวกันอย่างเป็นระเบียบ      มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน
          ภายในกลุ่ม     
           จากความหมายดังกล่าว  ทำให้เห็นว่าสังคมประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ คือ คน กลุ่มคน  สถาบันสังคม
 สถานภาพและบทบาท แต่สังคมมิได้มีเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในสังคม ยังมีสัตว์อยู่ มีสิ่งที่ไม่มีชีวิตทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ดังนั้นในสังคมหนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไปหมดทุกส่วน 
ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของสังคมเกิดชำรุดเสียหายก็จะส่งผลกระทบถึงส่วนอื่น ๆ ในสังคมได้
          ดังนั้น สังคมไทยจึงหมายถึงสังคมของชุมชนชาวไทย  หรือที่เรียกกันว่า ประเทศไทย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ใน
สังคมเป็นคนไทย มีเชื้อสายและสัญชาติไทย  มีลักษณะเด่นหลายอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง
3. การพัฒนาสังคม/การพัฒนาสังคมไทย
           ดังที่กล่าวแล้วว่า การพัฒนาเป็นกระบวนการของการเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไม่น่าพอใจไปสู่สภาพที่น่าพอใจ
เมื่อนำไปใช้กับคำว่า สังคม ก็จะหมายถึงการทำให้สังคมหนึ่ง ๆ เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไม่น่าพอใจ
ไปสู่สภาพที่น่าพอใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าสังคมไทยประสบกับปัญหา หรือสภาพที่ไม่น่าพอใจ จนต้องมีการวาง
แผนเพื่อให้เกิดกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะนำไปสู่สภาพใหม่ที่ดีขึ้นหรือน่าพอใจกว่าสภาพที่มีอยู่เดิม
นั่นเอง
เป้าหมายการพัฒนา
           เพื่อให้การพัฒนาสังคมมีการพัฒนาอย่างสมดุล    จึงควรมีการพัฒนาทั้ง 2 ระดับ คือ
         1.  ระดับบุคคล :
          การพัฒนาสังคมควรมีเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนใน
สังคมมีความรู้ความสามารถ  มีทักษะในการแก้ปัญหา ปรับปรุง สร้างสรรค์ความเจริญ อันจะนำไปสู่ความสามารถ
ที่เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง ครอบครัว และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ กล่าวคือ ให้ประชาชน
ในชาติมีการดำรงชีวิตในระดับที่เหมาะสม ตามความจำเป็นพื้นฐาน มีรายได้ตามสมควรแก่อัตภาพ มีปัจจัยสี่ใน
การครองชีพ มีการศึกษาตามสมควร มีสุขภาพอนามัยดี มีครอบครัวดีเป็นผู้มีคุณธรรม สามารถพึ่งตนเองได้ ทำตน
ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น  สังคม และประเทศชาติ
         2. ระดับประเทศ :
         เป้าหมายการพัฒนาไม่ควรมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว  แต่ควรมีเป้าหมายที่จะให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมทุก ๆ ด้านควบคู่กันไป  คือ เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา สังคม วัฒนธรรม ครอบครัว
ประชากร  สาธารณสุข เป็นต้น  หรือกล่าวได้ว่าพัฒนาโครงสร้างของสังคมให้มีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันทุกด้านนั่นเอง
กระบวนการพัฒนาสังคมไทย
           การพัฒนาสังคม มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกัน ดังนั้นกระบวนการ  ในการพัฒนาสังคมจะต้อง
มีการเตรียมการอย่างดี  การพัฒนาสังคมจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดผลเสียต่อสภาพข้างเคียง หรือระวังมิให้เกิดปัญหา
สังคมตามมา    ดังนั้นกระบวนการพัฒนาสังคมจะต้องคำนึงถึง 2 ประการ คือ
ก. การมีแผนงานที่ดี      หมายถึง การมีการเตรียมการอย่างรัดกุม เป็นขั้นตอน แผนงานแต่ละขั้นตอนสามารถ
     ตรวจสอบ   ประเมินได้  มีจุดมุ่งหมายวิธีการดำเนินงานชัดเจน   และสามารถที่จะรู้ถึงผลลัพธ์ที่วางแผนสำหรับ
     การพัฒนาให้ รัดกุม ครอบคลุม เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาระยะยาวของสังคมได้ใน
     ขณะเกิดขึ้นจากการดำเนินการ ตามแผนงานได้อย่างค่อนข้างแน่นอน เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 ข. ีวิธีการดำเนินงานที่ดี หมายถึง  การกำหนดขั้นตอนในการลงมือปฏิบัติและวิธีการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน     
      โดยเฉพาะจะต้องกำหนดให้ประชาชนในสังคมนั้น ๆ ได้เข้ามามีบทบาทร่วมในการพัฒนาสังคมให้มากที่สุด            
  
                การพัฒนาเป็นกระบวนการที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยมีการวางแผน    และมีวิธีการที่ดี ซึ่งการพัฒนา
หรือ  แก้ปัญหานั้นจะเริ่มจากการรับรู้ว่ามีปัญหาอะไร หาทางเลือกในการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการ     คิดเป็น
แล้วตัดสินใจ เลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา เมื่อตัดสินใจได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม  มีการปรับปรุง
การดำเนินงานเป็นระยะ ๆ และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้ มีการประเมินผลว่า    สิ่งที่ได้กระทำลงไปนั้น  เป็นที่
น่าพอใจหรือไม่ ถ้าพอใจ ก็จะเข้าสู่สภาพที่น่าพอใจหรือไม่ ถ้าพอใจก็จะเข้าสู่สภาพที่น่าพอใจ  หรือ เกิดการพัฒนา
แต่ถ้าไม่พอใจ ก็จะต้องเริ่ม ขั้นตอนที่ 1 ใหม่โดยที่ประชาชนควรจะมีส่วนร่วมในกิจกรรม  ทุกขั้นตอน
           ในอดีตที่ผ่านมา  การพัฒนาเป็นเรื่องของหน่วยงานราชการ เป็นเรื่องของรัฐ จะเป็นผู้ดำเนินการ แต่ปัจจุบัน
แนวคิดนี้ได้เปลี่ยนไป และได้ใช้แนวคิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม กล่าวคือ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน

กระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน    อันจะนำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวการศึกษา

** "สหวิชา ดอท คอม" **