...***ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก สาขาการบริหารการศึกษา สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ ด้วยความยินดี อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ "ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม"
เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ "การเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา"***.
..

คิดถึง คิดถึง คิดถึง

สำเร็จสุขสำราญ สู่ผู้บริหารมืออาชีพ

รับขวัญรุ่นน้อง บริหารการศึกษา รุ่น 15

มอบของที่ระลึก อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ผู้ประสานงาน

แสดงความยินดีกับ รุ่นพี่ บริหารการศึกษา รุ่นที่ 13

ภาพบรรยากาศดีๆ บริหารการศึกษา รุ่นที่ 13-14

"ผูกพัน ฮักกัน มั่นแก่น ฮับขวัญน้องใหม่"(บริหารการศึกษา รุ่นที่14 ศก.56)

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
๑. การศึกษาคืออะไร ?
ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า คำว่าสิกขามาจากคำว่า
สยํ + อิกฺขา สมฺมา + อิกฺขา สห + อิกฺขา
ผู้ศึกษาจะต้องเห็นชัดในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองอย่างถูกต้องจนดับทุกข์ได้และสามารถจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ด้วยความสงบสุข ดังนั้นการศึกษาจึงมิใช่การเรียนเพียงด้านภาษา และอาชีพเท่านั้น แต่หมายถึงการดับทุกข์ตนเองและผู้อื่นให้ได้ทำตนให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
ดร. สาโรช บัวศรี กล่าวว่า การศึกษาคือขบวนการพัฒนาขันธ์ ๕ ให้เจริญเต็มที่เพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ของมนุษย์ให้เบาบางลงและหมดไปในที่สุด
พระราชวรมุนี* (* ปัจจุบัน พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) )ได้กล่าวว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำชีวิตให้เข้าถึงอิสรภาพ คือทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำจากปัจจัยภายนอกให้มากที่สุด และ มีความเป็นใหญ่ในตัว สามารถกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด
๒. กระบวนการศึกษาแบบพุทธ
คือ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องด้วยการทำลายอวิชชาและตัณหา และสร้างเสริมปัญญา ฉันทะ และกรุณา

๓. ความหมายและจุดมุ่งหมายการศึกษา
ก. ความหมายที่มองในแง่สภาพที่เผชิญการศึกษาก็คือการแก้ปัญหาของมนุษย์ ถ้าไม่มีปัญหา การศึกษาก็ไม่มี มองในแง่สภาพที่จะประสบผล การศึกษาก็คือการทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากปัญหา (-) ปราศจากสิ่งบีบคั้นกีดขวาง แล้วเข้าถึงสิ่งที่ดีงาม (+) สิ่งที่ประเสริฐที่สุดหรือดีที่สุดที่ชีวิตจะพึงได้มีอิสรภาพสมบูรณ์ มองในแง่ความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกการศึกษาคือการทำให้มนุษย์พ้นจากการต้องพึ่งปัจจัยภายนอก มีความสมบูรณ์ในตัวมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
ข. จุดหมายของการศึกษาเป็นอันเดียวกันกับจุดหมายของชีวิตคือความหลุดพ้น (วิมุตติ) ได้แก่ความปลอดโปร่งเป็นอิสระ
๔. คุณสมบัติของผู้ได้รับการศึกษา
ผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบพุทธ จะมีลักษณะเด่น คือ มีคุณธรรม ๒ ประการประจำตน
๑. มีปัญญา ซึ่งเกิดพร้อมกับการสิ้นอวิชชา
๒. มีกรุณา ซึ่งเป็นแรงเร้าในการกระทำในการดำรงชีวิต จะมีลักษณะ ๒ คือ
อัตตัตถะ การบรรลุถึงประโยชน์ตน ฝึกตนเองได้ดี (ปัญญา)
ปรัตถะ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น สามารถช่วยผู้อื่นได้ดี (กรุณา)
๕. พุทธธรรมที่เป็นสาระสำคัญของการศึกษา
๑) ธรรมที่พึงวิเคราะห์ เพื่อแสวงหาพุทธปรัชญา การศึกษาหลักธรรม หลักได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท นิพพาน และอริยสัจ ๔ หลักธรรมรอง คือ ขันธ์ ๕,ไตรลักษณ์ กรรม และไตรสิกขา
๒) ความหมายของหลักธรรมแต่ละอย่าง
๒.๑ ปฏิจจสมุปบาทแสดงกฎเหตุผลและปัจจัยสนับสนุน
๒.๒ อริยสัจแสดงปัญหาและการแกัปัญหาของมนุษย์
๒.๓ ขันธ์ ๕ แสดงชีวิตมีองค์ประกอบ
๒.๔ ไตรลักษณ์ แสดงสภาพที่เป็นจริงที่เราจะพึงเกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
๒.๕ กรรม แสดงความเป็นไปของมนุษย์และเหตุผล ที่จะแก้ไขปรับปรุงได้ผลสำเร็จ และจุดมุ่งหมายที่จะเข้าถึงได้ด้วยการกระทำมิใช่การอ้อนวอน
๒.๖ ไตรสิกขา แสดงความหมายแท้ของการศึกษา ขอบเขตการ ฝึกตน การพัฒนาชีวิตที่ดี (มรรค)
๒.๗ นิพพาน แสดงถึงสภาวะที่เข้าถึงเมื่อแก้ปัญหามนุษย์ได้แล้ว และประโยชน์สูงสุดที่จะพึงได้จากการมีชีวิตและการมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
๖. มองการศึกษาแนวพุทธจากภาคปฏิบัติ
ครู คือผู้ทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ
๑. สิปปทายก เป็นผู้ให้วิทยาการ
๒. กัลยาณมิตร เป็นเพื่อนคิด
ตามหลักปัจจัยสัมมาทิฐิ ๒ ประการ คือ
ปรโตโฆสะ เสียงจากภายนอกรวมทั้งกัลยาณมิตร
โยนิโสมนสิการ คือการคิดเป็นระบบ ๑๐ แบบ คือ
๑. คิดแบบสัมพันธภาพ (อิทัปปัจจยตา)
๒. คิดแบบวิเคราะห์ (ขันธ์ ๕)
๓. คิดแบบแก้ทุกข์ (อริยสัจ)
๔. คิดแบบสามกระแส (ไตรลักษณ์)
๕. คิดแบบสามมิติ (คุณ-โทษ-ทางออก)
๖. คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม (ปฏิสังขาโย)
๗. คิดแบบเสาสภา (สัตบุรุษ)
๘. คิดแบบกุศลภาวนา (ชูความดี)
๙. คิดแบบจันทร์เพ็ญ (สติปัฎฐาน)
๑๐ . คิดแบบวิภัชชวาท แบบวิธีตอบปัญหา ๔ อย่าง
คือ ยืน-แยก-ย้อน-หยุด
๗. ขบวนการแก้ปัญหาด้วยปัญญาญาณ

๘. ขบวนการทางการศึกษาของพระพุทธเจ้า อาจกล่าวได้โดยสรุปดังนี้
บุรพภาคของการศึกษา คือพื้นฐานที่จะให้เกิดระบบการศึกษาที่ถูกต้องมี ๗ อย่าง คือ
๑) กัลยาณมิตตตา
๒) ฉันทสัมปทา
๓) สีลสัมปทา
๔) อัตตสัมปทา
๕) ทิฏฐิสัมปทา
๖) ปอัปมาทสัมปทา
๗) โยนิโสมนสิการ - คบคนดี
- ใฝ่ดี
- มีระเบียบวินัย
- รู้ศักยภาพตนเอง
- เห็นชอบ
- รู้จักค่าของเวลา-ไม่ประมาท
- คิดเป็นระบบ
ตัวการศึกษา คือ มรรคมีองค์ ๘ มีความเห็นชอบเป็นต้น
เป้าการศึกษา คือ พัฒนากาย (ภาวิตกาโย) พัฒนาสังคม (ภาวิตสีโล) พัฒนาจิต (ภาวิตจิตฺโต) พัฒนาปัญญา (ภาวิตปญฺโญ)
ผลการศึกษา คือ จิตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและสังคม ดังรูปต้นไม้ การศึกษา ดังนี้.

ปรัชญาการศึกษา
อันประกอบด้วย สารัตถนิยม (Essentialism),นิรันตรนิยม (Perennialism),ปฏิรูปนิยม
(Reconstructionism), อัตถิภาวนิยม (Existentialism), พุทธปรัชญาการศึกษา (Buddhism) และ
พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ซึ่งข้าพเจ้าได้นำหลักการดังกล่าวมาเชื่อมโยงกับวรรณกรรมเรื่อง โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง ดังต่อไปนี้
1. การให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญ (Center of attention) มี การจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยภายในชั้นเรียน เด็กๆของโรงเรียนโทโมเอ สามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ จะเลือกเรียนวิชาอะไรก่อนก็ได้ตามใจชอบ บางคนอาจจะไปนั่งเขียนเรียงความหรือบางคนก็ไปจุดตะเกียงแอลกอฮอล์ทดลองวิทยา ศาสตร์
2. เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ในชั่วโมงวิชาดนตรีคุณครูใหญ่จะแจกชอล์กให้เด็กๆคนละแท่ง แล้วแต่ละคนก็แยกย้ายไปแต่ละที่ เสร็จแล้วครูใหญ่ก็จะดีดเปียโนแล้วให้เด็กๆเขียนโน้ตที่ได้ยินลงไปบนพื้น ห้อง ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้เด็กๆได้ขีดเขียนตามใจชอบโดยไม่ต้องถูกจำกัดอยู่แต่ ในแผ่นกระดาษที่ตีเส้นบรรทัดไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะเด็กๆต่างๆก็มีกระดานแผ่นใหญ่ของตัวเองเรียบร้อย เนื่องจากจินตนาการของเด็กๆนั้นมีมากกว่าที่จะบันทึกลงบนสมุดได้บางคนมีการ แอบวาดรูปการ์ตูนลงไปด้วย แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ได้มากกว่าการรู้จักเรื่องโน้ตแล้ว เด็กๆยังเรียนรู้เรื่องความสกปรกอีกเพราะว่าเมื่อเขียนแล้วทุกๆคนต้องช่วย กันทำความสะอาดพื้น จนทำให้เด็กๆไม่กล้าที่จะไปขีดเขียนไม่เป็นที่เป็นทางอีก รวมทั้งการรู้เทคนิคการเขียนอย่างไรไม่ให้ชอล์กหัก
3. ความเป็นประชาธิปไตย (Democracy) โดย การเคารพเสียงส่วนมาก แต่ก็ไม่ลืมที่จะฟังเสียงส่วนน้อยด้วยเช่นกัน เช่นในตอนไปเดินเล่น หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ คุณครูก็ถามว่าตอนบ่ายนี้อยากทำอะไร เสียงส่วนมากของเด็กๆเห็นพ้องร่วมกันว่า “ออกไปเดินเล่น” ซึ่งนี่ก็เป็นการฝึกประชาธิปไตยในห้องเรียนเล็กๆอีกแบบหนึ่ง เด็กได้เรียนรู้เรื่องการออกเสียง การเคารพเสียงส่วนใหญ่ เป็นต้น
4. ใช้ประสบการณ์และสถานการณ์จริง จัดการ เรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เช่นในตอนทดสอบความกล้า ก็ทำให้เด็กๆไม่กลัวผีอีก ต่อไป เพราะรู้ว่าแม้แต่ผีก็ยังขี้ขลาดเลย และในตอนคุณครูชาวนา ก็เห็นได้ชัดเจนเลยว่าการเรียนการสอนไม่ได้อยู่แต่ภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่เด็กๆได้ลงมือทำนาด้วยตนเองจากคุณครูชาวนา นอกจากความรู้เรื่องการทำนาแล้ว ยังมีความรู้เกี่ยวกับวัชพืช แมลง ระบบนิเวศอีกด้วย ซึ่งก็เหมือนกับตอนที่ไปร้านขนมปังเพื่อเรียนกรรมวิธีการทำขนมปังจากผู้ ชำนาญโดยตรง ผลของการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงสามารถทำให้เด็กๆมีทักษะในการใช้ชีวิตใน สังคม รู้จักการเอาตัวรอดในสังคมเพราะต่างคนล้วนผ่านการปฏิบัติจากสถานการณ์จริงมา แล้ว ในอนาคตก็สามารถที่จะดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
5. เน้นกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักวิทยาศาสตร์
เริ่มจากการตั้งปัญหา กำหนดสมมติฐาน รวบรวมข้อมูล สรุปผล วิเคราะห์ข้อมูล
หลัง จากการอ่านเรื่องนี้แล้ว ทำให้ได้ข้อคิดต่างๆ มากมาย พอมองกลับมาที่ระบบการศึกษาของไทย คงยากที่จะจัดการศึกษาให้เป็นเช่นเดียวกับโรงเรียนโทโมเอ ทั้งจำนวนนักเรียนต่อห้องที่มีมากเกินจะดูแลอย่างทั่วถึง ครูผู้สอนที่ขาดการบูรณาการเนื้อหาเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนที่ไม่เอื้อต่อการเรียนการสอน ฯลฯ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามโต๊ะโตะจัง คงจะเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ผู้อ่านหลายๆคน จะยังคงตราตรึงไว้อีกนานแสนนาน
ตารางแนวการวิเคราะห์ปรัชญาทั้ง 6 ลัทธิ
ปรัชญา
1. สารัตถนิยม Essentialism
2. นิรันตรนิยม Perennialism
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism
6. พุทธปรัชญา Buddihism
สอง. จุดมุ่งหมาย
1. สารัตถนิยม Essentialism มุ่งถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญต่อมนุษย์มาก
2. นิรันตรนิยม Perennialism ให้ผู้เรียนตระหนักความเป็นมนุษยชาติและมีเหตุผล
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาใช้ตัดสินใจ
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาสังคม การทำงานเป็นทีม
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism มุ่งให้เด็กมีเสรีภาพ โดยไม่ก้าวก่ายเสรีภาพของผู้อื่น
6. พุทธปรัชญา Buddihism ให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเอง และพัฒนาความรู้ความจำ

สาม. กระบวนการ
1. สารัตถนิยม Essentialism ยึดระเบียบวินัย ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทางเนื้อหาวิชา
2. นิรันตรนิยม Perennialism เชื่อว่าการเรียนรู้อยู่ที่การปลูกฝังจิตใจรู้จักคิดหาเหตุผล
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นความถนัดและความสนใจ
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism สนองความสนใจด้วยการค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับสังคม
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism เน้นความต้องการของเด็กแต่ละคนในการเลือกอย่างเสรี
6. พุทธปรัชญา Buddihism ให้ผู้เรียนฝึกความคิด ให้คิดอย่างถูกวิธีคิดอย่างมีระบบ
ผู้บริหาร
1. สารัตถนิยม Essentialism การบริหารยึดแบบอย่างมีเหตุผล
2. นิรันตรนิยม Perennialism ผู้บริหารยึดหลักเหตุผล ใช้กฎระเบียบอย่างมีเหตุผล
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism ดำเนินงานตามมติคณะกรรมการสถาบัน เป็นนักประชาธิปไตย
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism มีความคิดกว้างไกล เป็นนักปฏิรูป ดำเนินงานในฐานะผู้นำ
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism เห็นความสำคัญของผู้เรียน มีอิสระ ในการเลือกเรียน
6. พุทธปรัชญา Buddihism เป็นคนดี ประพฤติดี มีคุณธรรมโดยยึดหลัก พรหมวิหาร 4
สี่. สถานศึกษา
1. สารัตถนิยม Essentialism ให้ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนประเพณีของสังคม
2. นิรันตรนิยม Perennialism ทำหน้าที่ในการพัฒนา สติปัญญา และความมีเหตุผล
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism สถาบันการศึกษา คือแบบจำลองที่ดีงามของชีวิตและสังคม
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism สนใจเรื่องอนาคต นำทางให้ผู้เรียนแบบสังคมใหม่
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism สร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพให้เด็กทั้งในและนอกห้องเรียน
6. พุทธปรัชญา Buddihism อบรมเยาวชนให้เป็นคนดี เป็นมนุษย์ที่ดีโดยหลักธรรม
ห้า. ผู้สอน
1. สารัตถนิยม Essentialism ให้ความชำนาญที่เหนือกว่าชักนำให้ผู้เรียน ๆ รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์
2. นิรันตรนิยม Perennialism เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการคิดและประพฤติที่ดีงาม
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism เป็นผู้รอบรู้และมีประสบการณ์ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism เป็นผู้บุกเบิก เป็นนักแก้ปัญหาสนใจเรื่องสังคมอย่างกว้างขวาง
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism มีความจริงใจ ให้อิสระแก่เด็ก ทำงานที่ชอบอย่างเสรี
6. พุทธปรัชญา Buddihism เป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะวิทยาให้แก่ศิษย์ ชี้แนะให้ดำเนินชีวิตที่ดี
หก. ผู้เรียน
1. สารัตถนิยม Essentialism เป็นผู้รับฟัง ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนด
2. นิรันตรนิยม Perennialism มีเหตุผล จิตใจบริสุทธิ์ มีสติปัญญา มีศักยภาพในตัวเอง
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism เป็นศูนย์กลางรับประสบการณ์จากการกระทำของตนเอง
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism ได้รับการปลูกฝังให้สำนึกในหน้าที่ ประโยชน์ของสังคม
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism มีเสรีภาพเต็มที่ แต่เป็นเสรีภาพที่ไม่ก้าวก่ายเสรีภาพผู้อื่น
6. พุทธปรัชญา Buddihism เป็นผู้รับฟังคำแนะนำของครูด้วยความเคารพและศรัทธา
เจ็ด. หลักสูตร
1. สารัตถนิยม Essentialism หลักสูตรสหพันธ์แบบยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ
2. นิรันตรนิยม Perennialism เน้นด้านศิลปะศาสตร์โดยฝึกฝนให้รู้จักเหตุผลและสติปัญญา
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism เน้นประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นหลักสูตรกิจกรรม
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism เน้นสังคม ผู้เรียนต้องเข้าใจสภาพของสังคมที่ดีพอ
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism จัดแหล่งเรียนรู้หลากหลายให้มีงานอาชีพ เลือกเรียนตามความสนใจ
6. พุทธปรัชญา Buddihism มุ่งผลิตคนที่มีความประเสริฐ ทั้งทางโลกและทางธรรม
แปด. วัดและประเมินผล
1. สารัตถนิยม Essentialism การได้มาซึ่งความรู้เป็นการรับมาโดยการถ่ายทอด จดจำ
2. นิรันตรนิยม Perennialism วัดความสามารถในการคิด และการใช้เหตุผล
3. พิพัฒนาการนิยม Progressivism วัดเนื้อหาวิชาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้แก้ปัญหาได้เพียงไร
4. ปฏิรูปนิยม Reconstructionism วัดผลการเรียนด้านพัฒนาการ และทัศนคติเกี่ยวกับสังคม
5. อัตถิภาวนิยม Existentialism ไม่เน้นการสอบเนื้อหาวิชาจึงไม่มีการสอบประจำชั้นเรียน
6. พุทธปรัชญา Buddihism มีความรับผิดชอบและประเมินผลตนเอง ปฏิบัติได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวการศึกษา

** "สหวิชา ดอท คอม" **