...***ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก สาขาการบริหารการศึกษา สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ ด้วยความยินดี อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ "ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม"
เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ "การเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา"***.
..

คิดถึง คิดถึง คิดถึง

สำเร็จสุขสำราญ สู่ผู้บริหารมืออาชีพ

รับขวัญรุ่นน้อง บริหารการศึกษา รุ่น 15

มอบของที่ระลึก อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ผู้ประสานงาน

แสดงความยินดีกับ รุ่นพี่ บริหารการศึกษา รุ่นที่ 13

ภาพบรรยากาศดีๆ บริหารการศึกษา รุ่นที่ 13-14

"ผูกพัน ฮักกัน มั่นแก่น ฮับขวัญน้องใหม่"(บริหารการศึกษา รุ่นที่14 ศก.56)

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ด่วนที่สุด จากท่าน ผศ.ดร.ณรัฐ

เรียน นักศึกษา 4 สาขาวิทยาบริการ
เพื่อเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ปรัชญาสารัตถะ นั้น เป็นปรัชญาที่ศึกษาเรื่อง แก่นสาร เนื้อหาสาระ ที่สำคัญ นักการศึกษาไทย ส่วนใหญ่นำมาใช้การจัดการศึกษาในโรงเรียนลักษณะ นาฏศิลป์ และศิลป  บทบาทสมมุติส่วนใหญ่นักศึกษา จะนำเรื่องศิลป พื้นมามาเป็น บทบาทสมมุติ เวลานำเสอนรายงาน นักศึกษา ไม่ค่อยได้ นำเสนอ ประเต็นที่ เกี่ยวกับ วิธีการเรียน การสอน การวัดประเมินผล ลักษณะของครู ลักษณะของโรงเรียน และลักษณะของผู้บริหาร

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
๑. การศึกษาคืออะไร ?
ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า คำว่าสิกขามาจากคำว่า
สยํ + อิกฺขา สมฺมา + อิกฺขา สห + อิกฺขา
ผู้ศึกษาจะต้องเห็นชัดในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองอย่างถูกต้องจนดับทุกข์ได้และสามารถจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ด้วยความสงบสุข ดังนั้นการศึกษาจึงมิใช่การเรียนเพียงด้านภาษา และอาชีพเท่านั้น แต่หมายถึงการดับทุกข์ตนเองและผู้อื่นให้ได้ทำตนให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
ดร. สาโรช บัวศรี กล่าวว่า การศึกษาคือขบวนการพัฒนาขันธ์ ๕ ให้เจริญเต็มที่เพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ของมนุษย์ให้เบาบางลงและหมดไปในที่สุด
พระราชวรมุนี* (* ปัจจุบัน พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) )ได้กล่าวว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำชีวิตให้เข้าถึงอิสรภาพ คือทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำจากปัจจัยภายนอกให้มากที่สุด และ มีความเป็นใหญ่ในตัว สามารถกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด
๒. กระบวนการศึกษาแบบพุทธ
คือ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องด้วยการทำลายอวิชชาและตัณหา และสร้างเสริมปัญญา ฉันทะ และกรุณา
แนวคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมไทย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมไทย
1. การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลง
           พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของ พัฒนาว่าคือ ทำให้เจริญดังนั้น
การพัฒนาจึงหมายถึง  การทำให้เจริญ
           “การพัฒนาหมายถึง ความเจริญก้าวหน้าโดยทั่ว ๆ ไป เช่น การพัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ คือการทำ
สิ่งเหล่านั้นให้ดีขึ้น เจริญขึ้น  สนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้ดียิ่งขึ้น  หรืออาจกล่าวได้ว่า การพัฒนา

จากท่านพระมหาปัญญา แสงแก้ว

''พุทธจริยธรรมกับการพัฒนานักพัฒนาสังคม''
ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธ์
๑.บทนำ
     สงคมปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสังคมอาจเป็น ไปได้ทั้งในเชิงบวก หรือเชิงก้าวหน้า ส่งผลที่พึงปรารถนาแก่ผู้อยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง และเป็นไปได้ในทางตรงกันข้าม  คือ เชิงลบหรือเชิงถดถอย  ซึ่งส่งผลเป็นความเสื่อมโทรมและ ความไม่พึงปราถนาต่าง ๆ แก่บุคคลในสังคม
     สังคมอารยะทั่วไปมักจะกำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงไปตามแผน เป็นความต้องการ ของสมาชิกทงหมดในสังคมในรูปของโครงการพัฒนารูปแบบต่าง  ๆ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ใน การผลักดันให้โครงการพัฒนาบรรลุผลสำเร็จตามแผนการพัฒนา มีหลายฝ่ายหรือหลายภาคส่วน ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่า กลุ่มพหภาคี อันประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนในชุมชนนักวิชาการ ผู้นำทางศาสนา หรือผู้นำทางจิตวิญญาณและธุรกิจเอกชน

พุทธปรัชญาคืออะไร

จากท่านพระมหาปัญญา แสงแก้ว
พุทธปรัชญาคืออะไร
เราได้ทราบพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนามาแล้ว บัดนี้เรามาวิเคราะห์ว่าพระพุทธศาสนาเป็นพุทธปรัชญาอย่างไร
ขอทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่า คำว่าปรัชญาคืออะไร เพื่อจะได้สงเคราะห์พุทธศาสนาลงเป็นพุทธปรัชญาให้ชัดเจนได้ยิ่งขึ้นดังนี้
กล่าวโดยสรุป ปรัชญาคือการแสวงหาความจริงอันอันติมะเกี่ยวกับมนุษย์และโลกหรือสากลจักรวาล ภายนอกตัวมนุษย์ด้วยการใช้เหตุผล
เมื่อเข้าใจว่า ปรัชญาคืออะไรแล้ว คราวนี้ก็มาถึงคำถามว่า พุทธปรัชญาคืออะไรคำตอบสำหรับคำถามนี้ก็คือ พุทธปรัชญาได้แก่ หลักคำสอนเกี่ยวกับความจริง (สัจธรรม) และหลักปฏิบัติ (จริยธรรม) บางประการของพระพุทธศาสนาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลตามวิธีการของปรัชญา นิยามความหมายนี้ทำให้มองเห็นขอบเขตของพุทธปรัชญาว่าจำกัดอยู่ในส่วนที่เป็นศาสนธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่รวมไปถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เว้นเสียแต่ว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จะเกี่ยวโยงกับศาสนธรรม จึงจะศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลเชิงปรัชญาด้วยเท่านั้น

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พุทธปรัชญา พระมหาปัญญา

ผลงานจากพระมหาปัญญา แสงแก้ว

การนำพุทธปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง
มีคำพระท่านกล่าวเอาไว้ว่า  “จะกินต้องเตรียมอาหาร จะทำงานต้องเตรียมคน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ จะทำอะไรต้องจริงใจ เข้าใจ เชื่อใจ และมั่นใจ การงานจึงจะสำเร็จได้” ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า พัฒนา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของ “พัฒนา” ว่าคือ “ทำให้เจริญ” ดังนั้น
การพัฒนาจึงหมายถึง  การทำให้เจริญ
          “การพัฒนา” หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าโดยทั่ว ๆ ไป เช่น การพัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ คือการทำสิ่งเหล่านั้นให้ดีขึ้น เจริญขึ้น  สนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้ดียิ่งขึ้น  หรืออาจกล่าวได้ว่า “การพัฒนา”เป็นกระบวนการของการเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไม่น่าพอใจไปสู่สภาพที่น่าพอใจ การพัฒนาเป็นกระบวนการที่เปลี่ยน
แปลงอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่ง

พระพุทธศาสนากับนิติปรัชญา

ของฝากจาก พระมหาปัญญา แสงแก้ว


พระพุทธศาสนากับนิติปรัชญา …ศ.ดร.แสง จันทร์งาม
1. พระพุทธศาสนาในแง่หนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1.) พระธรรม ได้แก่คำสอนทั่วๆ ไปของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยเนื้อหาสาระสำคัญ 4 ประการ คือ
ก. ธรรมชาติของเอกภพ (Universe)
ข. ธรรมชาติของมนุษย์
ค. วัตถุประสงค์ของชีวิต
ง. ทางไปสู่วัตถุประสงค์นั้น
(2.) พระวินัย ได้แก่คำสั่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น สำหรับสมาชิกชั้นในของพระพุทธศาสนา ได้แก่ภิกษุและภิกษุณี พระวินัยมี 2 ประเภทคือ
ก. ข้อห้ามมิให้ทำ เพราะเป็นความชั่ว และความเสียหาย
ข. ข้อบังคับให้ทำ เพราะเป็นความดีงาม

2. ธรรมชาติของเอกภพ พระพุทธศาสนามองเอกภพในฐานะเป็นสังคมอันหนึ่งอันเดียวที่มีระเบียบระบบเป็นอย่างดี เอกภพในพระพุทธศาสนา มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาราศาสตร์สมัยปัจจุบัน ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่ เป็นจักรวาลหนึ่ง หลายๆ จักรวาลรวมกันเข้าเป็นโลกธาตุ (พอจะเทียบได้กับกาแลกซี) โลกธาตุมีขนาดต่างๆ กัน โลกธาตุขนาดใหญ่อาจมีจักรวาลถึง 1,000,000,000,000 จักรวาล เอกภพเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปแล้วเกิดขึ้นอีกเป็นวัฏจักร ตามกฎธรรมชาติ ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีผู้สร้างหรือผู้ทำลาย

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข่าวการศึกษา

** "สหวิชา ดอท คอม" **